ลำดับในการคิดคณิตศาสตร์ (Order of Operations )

สำหรับครูคณิตศาตร์ที่ไม่ได้จบคณิตศาสตร์มาโดยตรง…คงเคยเกิดปัญหากับเรื่องนี้มาบ้าง…

*** บวก ลบ คูณ หาร เราจะเริ่มคิดจากตรงไหนก่อนดี? ***

วันนี้มีคำตอบมาให้ค่ะ  เรามาดูกัน

ตัวอย่างเช่น:

คำตอบของ 7 x 5 + 3 คือเท่าไรถ้าท่านเริ่มด้วยการคูณก่อน คำตอบก็จะเป็น 38ถ้าท่านเริ่มด้วยการบวกก่อน คำตอบก็จะเป็น 56คำตอบใดถูกต้อง ?ถ้าไม่มีวิธีที่แสดงอันดับว่าจะเริ่มด้วยอะไรก่อน เราก็จะไม่ได้คำตอบเดียวที่ตรงกัน
นักคณิตศาสตร์ทั่วโลกได้ตกลงให้มีกฎต่าง ๆ ในเรื่องอันดับของการดำเนินการดังนี้

กฎข้อที่ 1 ถ้ามีแต่เพียง การบวก (+) และลบ (-) เท่านั้นที่เกี่ยวข้องให้เริ่มจากซ้ายไป ขวา 
ตัวอย่าง
16 – 4 + 2 = 12 + 2 = 14
12 – 2 – 10 = 10 – 10 = 0

กฎข้อที่ 2 ถ้ามีแต่เพียงการคูณ ( x ) และ หาร ( / ) เท่านั้นที่เกี่ยวข้องให้เริ่มจากซ้าย ไปขวา 
ตัวอย่าง
3 x 4 / 2 = 12 / 2 = 6
48 / 6 / 2 = 8 / 2 = 4

กฎข้อที่ 3 ถ้ามีทั้งการคูณ ( x ) หรือการ ( / ) และบวก (+) หรือ ลบ (-) คละกันจะต้อง เริ่มด้วยการคูณหรือหารก่อนจากซ้ายไปขวา แล้วตามด้วยการบวก และลบ 
ตัวอย่าง
5 + 3 x 7 = 5 + 21 = 26
40 / 5 – 2 x 3 = 8 – 6 = 2

กฎข้อที่ 4 ถ้าโจทย์มีเครื่องหมายวงเล็บเข้ามาเกี่ยวข้องต้องเริ่มทำในเครื่องหมาย วงเล็บก่อน 
ตัวอย่าง
(15 – 3) x 4 = 12 x 4 = 48
12 / (3 + 1) = 12 / 4 = 3

กฎข้อที่ 5 ถ้าโจทย์มีเครื่องหมายวงเล็บซ้อน ให้เริ่มจากวงเล็บในสุดก่อน 
ตัวอย่าง
7 + { 10 – (9 + 1)} = 7 + {10 – 10}
= 7 + 0
= 7
17 x {[ (10 + 4) / 7] – 2 } = 17 x {[14 / 7] – 2}
= 17 x { 2 – 2 }
= 17 x 0
= 0

กฎข้อที่ 6 ถ้าโจทย์มีเส้นคั่นเศษและส่วน ซึ่งหมายถึงการหาร ให้เริ่มจากเศษก่อน ต่อด้วยส่วนแล้วจึงหาร 
ตัวอย่าง
20 + 4 หมายถึง 20 + 4 / 16 – 4 = 24
16-4   12
= 2
เพื่อช่วยในการจำ อันดับ ในการทำที่ถูกต้องในภาษาอังกฤษจะมีคำว่า “BODMAS” ซึ่งหมายถึงBrackets

Or

Division or

Multiplication,then

Addition or

Subtraction

สำหรับหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ระดับประถมและมัธยมศึกษาของประเทศไทยใช้กฎ ข้อที่ 4,5 และ 6 ส่วนกฎข้ออื่น ๆ นั้น อาจารย์ที่สอนระดับมหาวิทยาลัยบางท่านยังใช้อยู่เพื่อประโยชน์สำหรับครูใน การเตรียมตัวเด็กในการไปสอบแข่งขันระหว่างประเทศจึงน่าจะได้ทราบข้อตกลงข้างต้นเสียก่อน เพราะใน การสอนของแต่ประเทศอาจใช้กฎแตกต่างกันจึงทำให้ได้คำตอบไม่เท่ากัน


ถอดความจากเรื่อง
order of Operations
ในหนังสือ C.G.E Mathematics Module 2 and Module 3 ของ C. Morony หน้า 8ที่มาจาก www.ipst.ac.th

 

11 ความเห็นบน “ลำดับในการคิดคณิตศาสตร์ (Order of Operations )”

  1. ลำดับดี แต่ใช้ไม่ถูกต้อง ละเลยวงเล็บ ละเลยสมการคณิตศาสตร์อย่างแรงครับ

  2. แล้วในกรณีที่ไม่มีเครื่องหมายใดก่อนหน้าวงเล็บ เราต้องแทนด้วนเครื่องหมายใดคะ เช่น
    2+2(2+2×0)+0+0 =

      1. ไม่มีเครื่องหมายหน้าวงเล็บ มันไม่ได้ถึงการ คูณหรอ ครับ

      2. แทนค่าเป็นคูณรึป่าว ตามที่ผมเรียนมา

      3. การเขียน 2(2+2×0) ให้ความหมายถึง การเอา 2 คูณกับค่าในวงเล็บ
        เพราะฉะนั้น ทำค่าในวงเล็บก่อน แล้ว จากนั้น คูณด้วย 2 และทำส่วนอื่นๆ ตามลำดับค่ะ

    1. แล้วในกรณีที่ไม่มีเครื่องหมายใดก่อนหน้าวงเล็บ เราต้องแทนด้วนเครื่องหมายใดคะ เช่น
      2+2(2+2×0)+0+0 =

      2+2(2+2×0)+0+0 = 2+2(2+0)+0+0
      = 2+2(2)+0+0
      = 2+4+0+0
      = 6
      ***หมายเหตุ 2(2) คือ 2×2 , (2)(2) ก็คือ 2×2 เช่นกันครับ
      หากมีตัวเลขที่มาวางต่อวงเล็บหรือวางด้านหน้า
      วงเล็บหรือตัวเลขเลขในวงเล็บสองวงเล็บวางต่อ
      กันโดยไม่มีเครื่องใดๆมาชั้นมันแสดงถึงตัวเลข.
      เหล่านี้กำลังคูณกันครับ

ใส่ความเห็น